การทำหมัน
หากไม่ต้องการให้มีลูกสุนัขเกิดเกินจำนวนที่จะเลี้ยงได้ หรือเพื่อเสี่ยงกับการผสมพันธุ์ในครอกได้ลูกสุนัขผิดลักษณะ ควรทำหมันให้กับสุนัข นอกจากนั้น การทำหมันจะช่วยลดความวุ่นวาย เนื่องจากพฤติกรรมของสุนัขในช่วงฤดูผสมพันธุ์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
การป้องกันโรค
ผู้เลี้ยงควรต้องมีเวลาให้กับสุนัข เพื่อทำความคุ้นเคยและศึกษาสุนัขแต่ละตัว ต้องคอยเอาใจใส่สังเกตความเป็นอยู่ การกินอาหาร การเปลี่ยนแปลงต่างๆ นอกจากนี้ควรจะต้องมีความรู้ พื้นฐานเกี่ยวกับสุนัข โรคต่างๆ เมื่อสุนัขเกิดอาการเจ็บป่วยจะได้นำไปรักษาได้ทันที
โรคที่เกิดกับสุนัขมีหลายชนิด และมักเกิดการระบาดอยู่เสมอทุกปี หลายโรคอาจร้ายแรง ทำให้สุนัขพิการหรือเสียชีวิต ทั้งอาจติดต่อถึงคนภายในบ้านด้วย การหมั่นเอาใจใสในตัวสุนัขและดูแลสุขภาพทั่วไปของสุนัข จึงนับเป็นการป้องกันโรคเบื้องต้นที่ดีที่สุด อาการของสุนัขที่เริ่มป่วยสังเกตได้จาก อาการเซื่องซึม ไม่ร่างเริงแจ่มใส ไม่กินอาหาร หรือกินอาหารน้องลง อาเจียน มีอาการท้องร่วง ท้องผูก ผอมลง ขนหยาบกระด้าง ผิวหนังเป็นผื่นแดง ตาแฉะ จมูกแห้งหรือมีน้ำมูก หากสุนัขมีอาการดังกล่าว ควรทำการรักษา หรือนำสุนัขไปหาสัตวแพทย์
โรคสุนัขหลายโรค สามารถป้องกันได้ โดยการฉีดวัคซีนตามกำหนดเวลาที่เหมาะสม หลังการฉีดวัคซีนควรงดอาบน้ำภายใน 1 สัปดาห์ เพราะสุนัขอาจมีไข้เล็กน้อยจากปฏิกิริยาต่อวัคซีน ดูแลให้สุนัขกินยาตามเวลาที่สัตวแพทย์กำหนด รวมทั้งควรแยกสุนัขตัวที่ป่วยออกจากตัวปกติ สิ่งที่ช่วยให้สุนัขรอดพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บได้อีกประการหนึ่ง คือ การรักษาความสะอาด ทั้งของสุนัขและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย กำจัดเห็บ หมัด ยุง หนู หรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นพาหะเหล่านี้
อายุ ข้อปฏิบัติ
3 สัปดาห์ ตรวจอุจจารและถ่ายพยาธิ
2 เดือน ฉีดวัคซีนป้องอกันโรคไข้หัดสุนัข โรคพาร์โวไวรัส เลปโตสไปโรซีส ตับอักเสบติดต่อ
3 เดือน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และถ่ายพยาธิ
4 เดือน ฉีดซ้ำเช่นเดียวกับเมื่ออายุ 2 เดือน
6 เดือน ตรวจเลือดเพื่อหาโรคพยาธิหนอนหัวใจและตรวจซ้ำทุก 6 เดือน
ทุกปี พบสัตวแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพทั่วไป ตรวจอุจจาระและถ่ายพยาธิทุก 6 เดือน
และฉีดวัคซีนซ้ำทุกอย่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น